ทำไมต้องมีระยะตัดตก ระยะปลอดภัยคืออะไร มีสำคัญอย่างไร ในการพิมพ์
ในการออกแบบงานพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นงานผลิตสิ่งพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นงานสติ๊กเกอร์ ฉลากสินค้า ทำไมถึงต้องมี “ตัดตกและระยะปลอดภัย”
เหตุเพราะแทบทุกงานพิมพ์ จะไปเกี่ยวข้องกับการ “ตัด” หากมีการ “ตัด” ก็จำเป็นต้องมีการทำ “ตัดตก” และ “ระยะปลอดภัย”
การสร้างไฟล์งานให้มีตัดตกและระยะขอบก็ยังคงเป็นความจำเป็นสำหรับงานพิมพ์
ระยะตัดตก (Bleed) – การเผื่อขอบของงานพิมพ์สติ๊กเกอร์ไปด้านข้างสำหรับการไดคัทหรือการตัด เพื่อป้องกันการตัดงานแล้วติดขอบสีขาว หรือเนื้อกระดาษ
พื้นที่สำหรับตัดตก ควรมีระยะ ≥ 2mm จากระยะตัด ในแต่ละด้าน หากไม่ได้ทำระยะตัดตกไว้โอกาสผิดพลาดของการตัดสติ๊กเกอร์ อาจเกิดขึ้นได้ เช่น การขยับของสติ๊กเกอร์ หรืองานที่กำลังจะเข้าเครื่องไดคัท ความลื่น ฯลฯ หากงานตัดมีความผิดพลาดก็อาจทำให้งานนั้นเสียหายไปได้ เช่นงานปูพื้นสีเข้มๆ หากไม่ได้ทำตัดตกไว้ งานไดคัทผิดพลาดก็จะทำให้งานปูสีพื้นเข้มๆ เห็นสีขาวมองเห็นได้อย่างชัดเจน
ดังนั้น การทำไฟล์สำหรับสิ่งพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นงานสติ๊กเกอร์ สติ๊กเกอร์แปะสินค้า สายคาด กล่อง บัตรขอบคุณ หรืองานอื่นๆ ที่เป็นพื้นสี พื้นรูปภาพ พื้นลวดลายใดๆ จึงจำเป็นต้องทำไฟล์งานเผื่อการตัดตกไว้ตั้งแต่ต้น รวมถึงรูปภาพที่จะนำมาใส่ อาจต้องมีขอบของรูปที่เกินออกมาจากขนาดงานจริงด้วย เว้นแต่งานนั้นจะเป็นพื้นขาว ไม่มีลวดลายใดๆ ตัดตกจึงจะไม่ต้องมี
ระยะปลอดภัย (Safety Margin) – การกำหนดพื้นที่ส่วนที่เสี่ยงต่อการไดคัท คล้ายกับการเผื่อตัดตก แต่ระยะขอบ เป็นการเผื่อเข้าด้านในงานค่ะ